สายตรงนายก
081-6077894
เมนูหลัก
การบริหารและทรัพยากรบุคคล
ข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่าย
ข้อมูลประชาสัมพันธ์
รวมกฏหมายท้องถิ่น
รายงาน
วาระสาร
แผนงาน
แผนบริหารความเสี่ยง
สภาพทางสังคม
สภาพทางสังคม
การศึกษา
- ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กก่อนวัยเรียน จำนวน 2 แห่ง
1. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กควนกรด ตั้งอยู่หมู่ที่ 4 บ้านทุ่งชน
2. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านวัดใหม่ ตั้งอยู่หมู่ที่ 3 บ้านวัดใหม่
- โรงเรียนระดับประถมศึกษา จำนวน 3 โรง
1. โรงเรียนวัดทะเลมิตรภาพที่ 151 ตั้งอยู่หมู่ที่ 6 ตำบลควนกรด
2. โรงเรียนชุมชนบ้านไทรห้อง ตั้งอยู่หมู่ที่ 1 ตำบลควนกรด
3. โรงเรียนบ้านหน้าเขา ตั้งอยู่หมู่ที่ 9 ตำบลควนกรด
- โรงเรียนมัธยมศึกษา จำนวน 1 โรง
1. โรงเรียนทุ่งสงวิทยา ตั้งอยู่หมู่ที่ 11 ตำบลควนกรด
- ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนตำบลควนกรด
สถาบันและองค์กรทางศาสนา
1.วัดไทรห้อง ตั้งอยู่หมู่ที่ 1 ตำบลควนกรด
2.วัดชายคลอง ตั้งอยู่หมู่ที่ 4 ตำบลควนกรด
3.วัดทะเล ตั้งอยู่หมู่ที่ 6 ตำบลควนกรด
4.ที่พักสงฆ์วัดใหม่ ตั้งอยู่หมู่ที่ 3 ตำบลควนกรด
5.ที่พักสงฆ์ควนกรด ตั้งอยู่หมู่ที่ 10 ตำบลควนกรด
6.โบสถ์ ตั้งอยู่หมู่ที่ 2 ตำบลควนกรด
ข้อมูลด้านสาธารณสุข / พลานามัย
1. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกบก ตั้งอยู่หมู่ที่ 10
2. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านไทรห้อง ตั้งอยู่หมู่ที่ 1
3. ศูนย์สาธารณสุขมูลฐาน 11 หมู่บ้าน
4. ชมรมผู้สูงอายุ 1 แห่ง
5. คณะกรรมการบริหารกีฬาและอุปกรณ์ 13 หมู่บ้าน
ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
1.สถานีตำรวจชุมชน จำนวน 1 แห่ง
องค์กรส่งเสริมการออมทรัพย์
1. ธนาคารหมู่บ้าน จำนวน 11 แห่ง
2. สถาบันการเงินชุมชนตำบล จำนวน 1 แห่ง
3. กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตเฉลิมพระเกียรติ จำนวน 1 แห่ง
อาชีพ
ประชาชนส่วนใหญ่ในพื้นที่ประกอบอาชีพ ทางด้านการเกษตร การกสิกรรม เช่น การทำนา การทำสวนยางพารา เลี้ยงสัตว์ รับราชการ ค้าขายและรับจ้าง รายได้ เฉลี่ย 18,195 บาท / คน / ปี
หน่วยงานธุรกิจในเขต อบต.
- โรงงานอุตสาหกรรม
- โรงแรม
- เทสโก้โลตัสเอ็กเพรส
- ปั้มน้ำมัน
- โรงสี
- ตลาดนัดชุมชน
- ร้านขายของชำและสินค้าเบ็ดเตล็ด
ข้อมูลอื่น ๆ
ขนบธรรมเนียมประเพณีที่สำคัญ
ขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมที่ปฏิบัติสืบต่อกันมา ตั้งแต่บรรพบุรุษที่สำคัญ คือ
ประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุ ในสมัยที่พระเจ้าศรีธรรมาโศกราชเป็นกษัตริย์ครองตาม พรลิงค์ (นครศรีธรรมราช) อยู่นั้นได้มีการบูรณะปฏิสังขรณ์
พระบรมธาตุเจดีย์ครั้งใหญ่ และแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 1773 ขณะที่เตรียมสมโภชพระบรมธาตุอยู่นั้น ชาวปากพนังมากราบทูลว่า คลื่นได้ซัดเอาผ้าแถบผืนหนึ่ง
ซึ่งมีภาพเขียนเรื่องพุทธประวัติมาขึ้นที่ชายหาดปากพนัง ชาวปากพนังเก็บผ้านั้นถวายพระเจ้าศรีธรรมาโศกราช พระองค์จึงรับสั่งให้ซักผ้านั้นจนสะอาด
เห็นภาพพุทธประวัติเรียกว่า"พระบฏ"จึงรับสั่งให้ประกาศหาเจ้าของ ได้ความว่าชาวพุทธจากหงสากลุ่มหนึ่ง จะนำผ้าพระบฏไปบูชาพระพุทธบาทที่ลังกา
แต่ถูกพายุพัดพามาขึ้นชายฝั่งปากพนังเหลือผู้รอดชีวิตสิบคน พระเจ้าศรีธรรมาโศกราชทรงมีความเห็นว่าควรนำผ้าพระบฏไปห่มพระบรมธาตุเจดีย์ เนื่องในโอกาสสมโภชพระบรมธาตุเจดีย์แม้จะไม่ใช่พระพุทธบาทตามที่ตั้งใจแต่ก็เป็นพระบรมสารีริกธาตุ ซึ่งเจ้าของผ้าพระบฏก็ยินดี การแห่ผ้าขึ้นธาตุจึงมีขึ้น
ตั้งแต่ปีนั้น และปฏิบัติสืบต่อมาจนกลายเป็นประเพณีที่สำคัญของชาวนครศรีธรรมราชในปัจจุบันประเพณีนี้จะนำผ้าไปห่มองค์พระบรมธาตุเจดีย์
ณ วัดพระบรมธาตุวรมหาวิหาร ในวัยขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 (วันมาฆบูชา)
ประเพณีวันสงกรานต์ หรือวันว่าง เป็นประเพณีที่สำคัญมาช้านาน ตรงกับวันที่ 13-15 ของเดือนเมษายน วันว่างถือเป็นวันปีใหม่ไทยของไทยเรา ธรรมเนียมการปฏิบัติคือการทำบุญ เข้าวัดโดยจะทำขนมที่เรียกว่าขนมต้มไปถวายพระด้วย ซึ่งถือได้ว่าขาดไม่ได้สำหรับในสมัยนี้ นอกจากการทำบุญ
แล้วในวันนี้ถือว่าเป็นวันรวมญาติ มีการรดน้ำขอพรจากผู้เฒ่าผู้แก่และในวันนี้ลูกหลานญาติมิตรที่ไปอยู่ต่างถิ่นจะกลับมาเยี่ยมเยือนถิ่นกำเนิด
ประเพณีสารทเดือนสิบ วิวัฒนาการมาจากประเพณีเปรตพลีของพราหมณ์ ซึ่งลูกหลานจัดขึ้น เพื่อทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ล่วงลับไปแล้ว
ต่อมาพวกพราหมณ์จำนวนมากได้หันมานับถือพระพุทธศาสนา และยังถือปฏิบัติในประเพณีดังกล่าวอยู่ พระพุทธองค์เห็นว่าประเพณีนี้มีคุณค่า เป็นการแสดงออก
ซึ่งความกตัญญูกตเวทีต่อบรรพบุรุษนำความสุขใจให้ผู้ปฏิบัติ จึงทรงอนุญาตให้อุบาสกอุบาสิกาประกอบพิธีนี้ต่อไปได้ ประเพณีสารทเดือนสิบมีมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล
คาดว่าเมื่อพระพุทธศาสนาเผยแพร่เข้ามา ชาวนครศรีธรรมราชจึงรับประเพณีนี้มาด้วย ในวันแรม 13 ค่ำ ซึ่งเป็นวันจ่าย หมายถึง จับจ่ายซื้อของที่จำเป็น หมรับ
ประกอบด้วยขนม 5 อย่างคือ ขนมพอง ขนมลา ขนมสะบ้า ขนมดีซำ และขนมไข่ปลา วันแรม 14 เป็นวันยกหมรับไปวัด สำหรับวันรับตายาย วันแรม 15 ค่ำ คือ
วันทำบุญสารท หรือเรียกว่า วันบังสุกุลวันส่งตายาย
ประเพณีลากพระหรือชักพระ ในสมัยที่มีการสร้างพระพุทธรูปขึ้นแล้ว พุทธศาสนิกชนได้อัญเชิญพระพุทธรูปซึ่งสมมุติแทนองค์พระพุทธเจ้ามาแห่แหน ซึ่งเปรียบเสมือนการรับเสด็จและถวายภัตตาหารให้พระพุทธเจ้าด้วยตนเอง พระภิกษุจีนชื่อ “อี้จิง“ได้จาริกแสวงบุญผ่านมายังอาณาจักรตามพรลิงค์ได้พบเห็น
ชาวบ้านปฏิบัติประเพณีลากพระ จึงบันทึกจดหมายเหตุเอาไว้ว่า"พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์องค์หนึ่งมีคนแห่แหนนำมาวัดโดยประดิษฐานบนรถหรือบนแคร่ มีพระสงฆ์และฆราวาสหมู่ใหญ่ห้อมล้อมมามีการตีกลองและบรรเลงดนตรีต่างๆมีการถวายของหอมและดอกไม้และถือธงชนิดต่างๆที่ทอแสงในกลางแดด
พระพุทธรูปเสด็จไปสู่หมู่บ้านด้วยวิธีดังกล่าว"วันลากพระจะทำกันในวันออกพรรษา คือ วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11
วันลอยกระทง ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 เป็นประเพณีที่มีความสำคัญ โดยมีความเชื่อว่าได้บูชาพระเกศแก้ว จุฬามหาบนสวรรค์ ชั้นดาวดึงบุชารอบพระพุทธบาทที่ประดิษฐาน ณ ริมฝั่งแม่น้ำ อโนมามหานที หรือเป็นการตอบแทนและขอขมาต่อพระแม่คงคา ที่ให้มีน้ำในการอุปโภค บริโภค และ ที่ละเมิดทิ้งสิ่งปฏิกูลลงไปในแม่น้ำ ลำคลอง กิจกรรมที่ต้องทำ ทำบุญตักบาตร ลอยกระทง กิจกรรมนันทนาการ การประกวดกระทง ประกวดนางนพมาศ
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่
- ทรัพยากรป่าไม้ พื้นที่ป่าไม้ที่สำคัญขององค์การบริหารส่วนตำบลควนกรด ได้แก่ พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ตั้งอยู่บ้านโน๊ะ หมู่ที่ 4 (บางส่วน)
- ทรัพยากรน้ำ ในพื้นที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลควนกรด ได้แก่ หนองเต่า, หนองพอ หนองพลับ , คลองวังหีบ, คลองหมู่ที่ 3, คลองบ้านแสว , วังอีน้อย, เขื่อนครูเลียบ